การประเมินแบบคู่ขนาน

บทความนี้มีเนื้อหาต่อเนื่องจากบทความตอนที่แล้ว เนื่องจากผมมีโอกาสได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเรื่อง การออกแบบการประเมินผลในชั้นเรียนที่สอดคล้องกับชีวิตจริงโดยการประยุกต์ใช้ Looker Studio กับผู้บริหาร และเพื่อนครูโรงเรียนบ้านป่าลาน โรงเรียนวัดแม่เลย และโรงเรียนวัดบ้านป้อก อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

ฐานคิดของการออกแบบหลักสูตรสำหรับการบรรยายคือ สุดท้ายนักเรียนเจอ Twitter ไม่ใช่เจอหนังสือเรียน เพราะฉะนั้นเราควรนำสิ่งที่นักเรียนพบเจอในชีวิตประจำวันนั้นมาใช้ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการประเมินผลในชั้นเรียน สำหรับรายละเอียดของบทความนี้ผมจะขอโฟกัสไปที่เรื่องการประเมินผลในชั้นเรียน (ในแบบที่ควรเป็น) รายละเอียดมีดังนี้ การประเมินแบบคู่ขนาน

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วย Data Driven

บทความนี้เป็นบทความแรกที่ผมเขียนขึ้นในรอบ 8 เดือน เห็นที่เว้นว่างนาน 8 เดือน เพราะรู้สึกผิดหวังกับมุมมองของการประเมินวิทยฐานะ “เชี่ยวชาญ”

เนื่องจากหนึ่งในผลงานวิชาการที่ผมส่งนั้นคือ การรวบรวมบทความที่ผมเขียนขึ้นจากการลงพื้นที่จริง
แลกเปลี่ยนกับเพื่อนครูจริง และทำต่อเนื่องมาตลอดของการเป็นศึกษานิเทศก์ 12 ปี

วัตถุดิบได้จากการลงพื้นที่จริง เขียนบทความต่อเนื่อง ตอบโจทย์วิธีการเรียนรู้ของเพื่อนครู เพื่อนครู
สามารถนำไปปรับใช้ได้ในชั้นเรียน และผมได้สอดแทรกไอเดียแปลกใหม่เข้าไปในงานเขียนผมเสมอ
ทั้งหมดคือ สิ่งที่ผมได้นำเสนอผ่านบทความร่วมๆ 200 บทความ

แต่กรรมการผู้ทรงเกียรติ ได้กรุณา comment ผลงานของผมประมาณ 11 หน้ากระดาษ A4 แต่มีประโยคหนึ่งที่ผมเสียใจเป็นอย่างยิ่งคือ “ผลงานมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับน้อย”

ผมเลยอดสงสัยไม่ได้ว้า ถ้าเป็นงานวิชาการในลักษณะของการพัฒนารูปแบบการนิเทศ / การพัฒนา
รูปแบบการบริหาร หรือการพัฒนารูปแบบการสอน คงเป็นงานที่มีความคิดสรา้งสรรค์อยู่ในระดับมาก

ขอบคุณที่ตัดสินตัวตนที่แท้จริงของผมจากการอ่านเอกสารจำนวน 2 เล่ม และใช้เวลาการพิจารณา
และตัดสินตัวตนที่แท้จริงของผมประมาณ 30 เดือน

มาเข้าเรื่องกันดีกว่า เรียนเชิญทุกท่านอ่านบทความในรอบ 8 เดือนของผมได้ที่ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วย Data Driven

ขอบคุณครับ

When I asked Google BARD answered

อีกหนึ่งปก “When I asked Google BARD answered”

AI chatbot อีกตัวจากค่าย Google

รวบรวม ทดลองใช้ เรียบเรียง และร้อยรัด จนได้เอกสารปกนี้ ท่านใดสนใจสามารถ Download ได้ที่ CLICK

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ AI world

ขอบคุณครับ

Prompt in Microsoft Image Creator

ไอเดียของผมเล่มนี้จะช่วยให้เราได้เรียนรู้ลักษณะการเขียน prompt ที่ดี โดยผมยกตัวอย่าง prompt จำนวน 20 บริบท พร้อมด้วย ภาพที่ Microsoft image creator สร้างขึ้น จำแนกตามบริบท ดังนี้

ส่วนที่ 1 เป็นตัวอย่างภาพที่สร้างจาก prompt โดยไม่กำหนด style ของภาพ จำนวน 8 บริบท

ส่วนที่ 2 เป็นตัวอย่างภาพที่สร้างจาก prompt และกำหนด style ของภาพ จำนวน 12 บริบท

ผมหวังว่าไอเดียของผมเล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหาร เพื่อนครู ศึกษานิเทศก์ นักเรียน ตลอดจนผู้สนใจในการประยุกต์ใช้ AI สำหรับการสร้างสรรค์ภาพในมุมมองต่างๆ

ขอให้ทุกท่านสนุกกับการสร้างภาพด้วย prompt และยินดีต้อนรับ ทุกท่านสู่ AI world โดยสมบูรณ์

ท่านใดสนใจสามารถ download ได้ที่ CLICK

ขอบคุณครับ

Looker Studio V.2

ขออนุญาตประชาสัมพันธ์

ผมได้จัดทำเอกสารเรื่อง Looker Studio ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 เสร็จเรียบร้อยแล้วโดยจัดทำในลักษณะของการเล่าเรื่องจากประสบการณ์จริง (photo book)

เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน เพื่อนครูที่สนใจสามารถ download เอกสารเล่มนี้ได้ที่ ลงทะเบียนรับเอกสาร

และเมื่อได้อ่านเอกสารนี้แล้ว ช่วยให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงเอกสารให้ดียิ่งขึ้นได้ที่ ข้อเสนอแนะ

ขอบคุณครับ

#ขับเคลื่อนคุณภาพบนฐานของสารสนเทศที่มีความหมาย

ChatGPT For Education

ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ครับ

ผมได้จัดทำซีรีย์เรื่อง ChatGPT For Education จำนวน 7 ปก โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดทำเพื่อเสนอไอเดียการประยุกต์ใช้ ChatGPT กับการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เพื่อนครูท่านใดสนใจสามารถ download ได้ที่ DOWNLOAD

หมายเหตุ Clip VDO ที่เกี่ยวกับ ChatGPT (ทยอยทำ) ทุกท่านรับชมไอเดียได้ที่ ChatGPT Youtube

ขอบคุณครับ

#นักเล่าเรื่อง

Canva for Education

ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ผมได้จัดทำเอกสารเรื่อง Canva for Education โดยเป็นการจัดทำในลักษณะของ Photobook แบบ Step by Step

เพื่อนครูท่านใดสนใจ สามารถ download โดยการ click ที่รูปปกหน้งสือ

และเมื่อ download ไปแล้ว ขอความกรุณาได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการปรับปรุงในโอกาสต่อไปได้ที่ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ขอบคุณครับ

รวมเล่มบทความ ขนาด A5

ประสบการณ์ ผสานคิด ผ่านอักษร

ตระเวนรอน ไปนิเทศ เพียงมุ่งหวัง

สานข้อคิด สานความรู้ เสริมพลัง

ไม่หยุดยั้ง ใช้ความรู้ ด้วยหัวใจ

อุดมการณ์ ของชน คนนิเทศก์

ดำรงเจต-นารมย์ สมสมัย

สั่งสมผ่าน ประสบการณ์ วุฒิวัย

ดำรงไว้ ซึ่งความรู้ คู่นานเอย

ปล.สามารถ download เอกสารทั้ง 8 เล่ม (ขนาด A5) ได้โดยการ click ที่ภาพด้านล่างนี้

แนวทางการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยใช้ประสบการณ์จากปีงบประมาณ 2565 เป็นฐานคิด

ตลอดปีงบประมาณ 2565 ผมได้รับโอกาสจากเพื่อนครูหลายๆ โรงเรียนให้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเรื่อง การเขียนข้อตกลงในการพัฒนางานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในตำแหน่งครูผู้สอน

ซึ่งสิ่งที่ผมไปแลกเปลี่ยนนั้น ผมแลกเปลี่ยนในมุมมองของ “ความเชื่อมโยงเรื่องการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน และการวิจัยในชั้นเรียนกับการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน”  

ยืนยันครับว่า การเขียนข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง คือ หลักการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน และการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน คือหลักการวิจัยในชั้นเรียน

ทำไมผมถึงยืนยันแบบนี้ ลองมาอ่านไอเดียของผมจากบทความครั้งนี้ อ่านเพื่อเชื่อมโยงและวางแผนไปสู่การเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน ประจำปีงบประมาณ 2566 ให้ชัดเจน ถูกต้อง และจับต้องได้ รายละเอียดดังนี้ แนวทางการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยใช้ประสบการณ์จากปีงบประมาณ 2565 เป็นฐานคิด

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการประเมิน Clip และแผนการจัดการเรียนรู้

การประเมินข้อตกลงในการพัฒนางานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในตำแหน่งครูผู้สอนเมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ (คู่มือปกสีชมพู) จะพบว่ามี 2 ตอนที่สำคัญ ได้แก่

ตอนแรก หมายถึง การประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน ตำแหน่งครูผู้สอนตามเกณฑ์ จะแบ่งเป็น 2 ส่วนย่อยได้แก่

1.ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง จำนวน 3 ด้าน 15 ตัวชี้วัด (ระดับความเข้มข้นจะแยกตาม keyword ในแต่ละวิทยฐานะ)

2.ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (ระดับความเข้มข้นจะแยกตาม keyword ในแต่ละวิทยฐานะ ยืนยันว่าจุดตัดคือ นวัตกรรมที่ครูเรานำมาใช้)

ตอนสอง หมายถึง การประเมินเพื่อขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ แบ่งเป็น 2 ส่วนย่อยได้แก่

1.ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน จำนวน 8 ตัวบ่งชี้

2.ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน จำนวน 4 ตัวบ่งชี้

ไอเดียของผมมีดังนี้ครับ ข้อสังเกตเกี่ยวกับการประเมิน Clip และแผนการจัดการเรียนรู้