การประเมินแบบคู่ขนาน

บทความนี้มีเนื้อหาต่อเนื่องจากบทความตอนที่แล้ว เนื่องจากผมมีโอกาสได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเรื่อง การออกแบบการประเมินผลในชั้นเรียนที่สอดคล้องกับชีวิตจริงโดยการประยุกต์ใช้ Looker Studio กับผู้บริหาร และเพื่อนครูโรงเรียนบ้านป่าลาน โรงเรียนวัดแม่เลย และโรงเรียนวัดบ้านป้อก อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

ฐานคิดของการออกแบบหลักสูตรสำหรับการบรรยายคือ สุดท้ายนักเรียนเจอ Twitter ไม่ใช่เจอหนังสือเรียน เพราะฉะนั้นเราควรนำสิ่งที่นักเรียนพบเจอในชีวิตประจำวันนั้นมาใช้ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการประเมินผลในชั้นเรียน สำหรับรายละเอียดของบทความนี้ผมจะขอโฟกัสไปที่เรื่องการประเมินผลในชั้นเรียน (ในแบบที่ควรเป็น) รายละเอียดมีดังนี้ การประเมินแบบคู่ขนาน

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วย Data Driven

บทความนี้เป็นบทความแรกที่ผมเขียนขึ้นในรอบ 8 เดือน เห็นที่เว้นว่างนาน 8 เดือน เพราะรู้สึกผิดหวังกับมุมมองของการประเมินวิทยฐานะ “เชี่ยวชาญ”

เนื่องจากหนึ่งในผลงานวิชาการที่ผมส่งนั้นคือ การรวบรวมบทความที่ผมเขียนขึ้นจากการลงพื้นที่จริง
แลกเปลี่ยนกับเพื่อนครูจริง และทำต่อเนื่องมาตลอดของการเป็นศึกษานิเทศก์ 12 ปี

วัตถุดิบได้จากการลงพื้นที่จริง เขียนบทความต่อเนื่อง ตอบโจทย์วิธีการเรียนรู้ของเพื่อนครู เพื่อนครู
สามารถนำไปปรับใช้ได้ในชั้นเรียน และผมได้สอดแทรกไอเดียแปลกใหม่เข้าไปในงานเขียนผมเสมอ
ทั้งหมดคือ สิ่งที่ผมได้นำเสนอผ่านบทความร่วมๆ 200 บทความ

แต่กรรมการผู้ทรงเกียรติ ได้กรุณา comment ผลงานของผมประมาณ 11 หน้ากระดาษ A4 แต่มีประโยคหนึ่งที่ผมเสียใจเป็นอย่างยิ่งคือ “ผลงานมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับน้อย”

ผมเลยอดสงสัยไม่ได้ว้า ถ้าเป็นงานวิชาการในลักษณะของการพัฒนารูปแบบการนิเทศ / การพัฒนา
รูปแบบการบริหาร หรือการพัฒนารูปแบบการสอน คงเป็นงานที่มีความคิดสรา้งสรรค์อยู่ในระดับมาก

ขอบคุณที่ตัดสินตัวตนที่แท้จริงของผมจากการอ่านเอกสารจำนวน 2 เล่ม และใช้เวลาการพิจารณา
และตัดสินตัวตนที่แท้จริงของผมประมาณ 30 เดือน

มาเข้าเรื่องกันดีกว่า เรียนเชิญทุกท่านอ่านบทความในรอบ 8 เดือนของผมได้ที่ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วย Data Driven

ขอบคุณครับ